มาตรการช็อปช่วยชาติ

  • มาตรการช็อปช่วยชาติ มาตรการช็อปช่วยชาติ
    ปลุกกระแสการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปีกลับมาอีกครั้งจากการประกาศก้องของนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว. คลัง เพื่อต้องการมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่คนไทยที่เป็นคนชั้นกลางของประเทศ
    ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ได้อนุมัติวงเงินกว่า 38,000 ล้านบาท ช่วยเหลือประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.5 ล้านคนเป็นของขวัญปีใหม่ไปแล้ว
    ในรอบนี้ก็ถึงคราวคนชั้นกลางที่เสียภาษีให้แก่รัฐบาลมากกว่า 10 ล้านคน จะได้รับของขวัญปีใหม่ ที่เคยได้รับเกือบทุกปีจากรัฐบาล “บิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี 2558 ระยะเวลา 7 วัน ระหว่างวันที่ 25-31 ธ.ค.2558
    ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค.2559 รวมระยะเวลา 18 วัน
    และครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค.2560 เพิ่มระยะเวลาเป็น 23 วัน มากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
    ทำให้ภาพรวมของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมาคึกคักและเป็นที่จับตาของประชาชน รวมถึงนักช็อปมือเติบที่จะได้ใช้มาตรการช็อปช่วยชาติในการซื้อสินค้าที่จำเป็น
    โดยข้อมูลล่าสุดจากรมสรรพากรระบุว่า มาตรการช็อปช่วยชาติปี 2560 มีคนใช้สิทธิลดหย่อนภาษีประมาณ 22,500 ล้านบาท ทำให้กรมสรรพากรสูญเสียรายได้ 1,800 ล้านบาท
    แต่ขณะเดียวกันกรมสรรพากรก็มีรายได้จากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 245,244 ล้านบาท เพียงแค่ระยะเวลา 23 วัน จึงถือเป็นสิ่งเสพติดทางด้านเศรษฐกิจ เพราะผลลัพธ์ของมาตรการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีประชาชนจำนวนมากอยากได้ค่าลดหย่อน 15,000 บาทจากรัฐบาล
    เนื่องจาก “มาตรการช็อปช่วยชาติ” ทั้ง 3 ครั้งในช่วง 3 ปี เปิดกว้างให้แก่สินค้าหลายชนิด เพียงแต่ผู้ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจะต้องขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาเป็นเอกสารประกอบการขอคืนภาษี ไม่สามารถใช้สลิปใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อได้

    อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก
    https://www.thairath.co.th/news/business/1435631
    • Admin
    • ศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564
    • 1 Views